ข้อมูลทั่วไป


                        1. หมู่ที่   1  บ้านปอแดง               

      

                   2. หมู่ที่    2  บ้านปอแดง                   

                   3. หมู่ที่    3 บ้านปอแดง          

                   4. หมู่ที่    บ้านปอแดง                            

                   5. หมู่ที่    5   บ้านขมิ้น           

                   6. หมู่ที่    6  บ้านคลองคู่

                   7.หมู่ที่    7  บ้านหลุมข้าว

                   8.หมู่ที่    8  บ้านนาดี

                   9.หมู่ที่    9  บ้านนาดี

                                      

1.5 จำนวนประชากร

1.5.1 ตำบลนาดี มีจำนวนครัวเรือน 1,311 ครัวเรือน       

          1.5.2 จำนวนประชากรทั้งหมด    6,401   คน  แยกเป็นชาย 2,818   คน หญิง 3,583  คน

         

2. สภาพทางเศรษฐกิจ

    

2.1 อาชีพ               

2.1.1 อาชีพหลัก ได้แก่การทำนา             จำนวน             1,046            ครัวเรือน

2.1.2 อาชีพรองได้แก่

                  1. ทำสวน ส่วนใหญ่ได้แก่   พืชผัก        จำนวน                 97       ครัวเรือน                  

          2.1.3 อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่        โค กระบือ         จำนวน                34      ครัวเรือน

                                                     สุกร                 จำนวน                18      ครัวเรือน

                                                     เป็ด -ไก่             จำนวน                  7     ครัวเรือน

2.1.4 อาชีพค้าขาย                                          จำนวน                27     ครัวเรือน 

         ส่วนมากมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละไม่ต่ำกว่า    15,000     บาท/ปี

2.2 หน่วยธุรกิจในเขตตำบลนาดี

          2.2.1 ธนาคาร                                -     แห่ง    

          2.2.2 โรงแรม                                 -     แห่ง    

          2.2.3 ปั้มน้ำมันและก๊าซ                      -     แห่ง

          2.2.4 โรงงานอุตสาหกรรม                   -     แห่ง

          2.2.5 โรงสี                                        2     แห่ง   

          2.2.6  ร้านค้าแผงลอย                       27  ร้าน

          2.2.7  กองทุนหมู่บ้านปอแดง หมู่ประเภทร้านขายของชำ           ร้าน

  3. สภาพทางสังคม

      3.1 สภาพทางการศึกษา

                   3.1.1 โรงเรียนประถมศึกษา        3     แห่ง  ซึ่งเป็นของรัฐบาล

                       1. โรงเรียนปอแดงวิทยา ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่  1 (เป็นโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น)

                       2. โรงเรียนขมิ้นพัฒนวิทย์      ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่  5

                       3.  โรงเรียนนาดีหลุมข้าววิทยา  ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 9        

                   3.1.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำหมู่บ้าน     2     แห่ง

3.2 สถาบันและองค์การทางศาสนา

                   3.2.1 วัด/สำนักสงฆ์                                                       6     แห่ง

ในบุญประเพณี 12 เดือน หรือบุญฮีต 12 ก็มีความผูกพันกับวิถีชีวิตและธรรมชาติแวดล้อมของชาวชุมชน

ตำบลนาดี ดังนี้

เดือนมกราคม              บุญส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

เดือนกุมภาพันธ์            บุญดอกผ้า ดอกเงิน ข้าวจี่

เดือนมีนาคม               บุญแจกข้าว บุญผะเหวด

เดือนเมษายน              บุญสงกรานต์

เดือนพฤษภาคม           บุญบวชนาค

เดือนมิถุนายน             บุญบั้งไฟ

เดือนกรกฎาคม            บุญเข้าพรรษา

เดือนสิงหาคม              บุญข้าวประดับดิน

เดือนกันยายน             บุญข้าวสาก

เดือนตุลาคม               บุญออกพรรษา

เดือนพฤศจิกายน           บุญกฐิน

เดือนธันวาคม                 -

3.3  การสาธารณสุข

                   3.3.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประจำหมู่บ้าน/ตำบล       1  แห่ง หมู่ที่   3   บ้านปอแดง

         จากนี้ยังมีหน่วย อสม. แต่ละหมู่บ้านเพื่อบริการขั้นมูลฐานของการรักษาพยาบาล

                   3.3.2 อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ     ร้อยละ  100 

4.  การบริการขั้นพื้นฐาน

         

4.1 การคมนาคม

          มีเส้นทางติดต่อกับอำเภอยางตลาด จำนวน 1 เส้นทางดังนี้

-         ถนนสายหลักทางไปจังหวัดมหาสารคาม  ถึงที่ว่าการอำเภอยางตลาด ยาว  15  กม.

          4.2 การโทรคมนาคม

                   4.3.1 ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข                       1        แห่ง    

                  4.3.2 โทรศัพท์                                                         8       เครื่อง                      

4.3 การไฟฟ้า

                   ตำบลนาดีมีไฟฟ้าใช้    9  หมู่บ้าน   มีกระแสไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน

          4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ

                   4.4.1  บึง,หนอง                                    2     แห่ง

          4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น  

                   4.5.1  ประปาหมู่บ้าน                             4     แห่ง

          4.6 ทรัพย์ยากรธรรมชาติในพื้นที่

                           -    ป่าไม้ธรรมชาติ                 -      แห่ง      

 

 

 


 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง

      วิสัยทัศน์  “ชาวตำบลนาดี  มีสุขภาพดีแบบพอเพียง ใน ปี ๒๕๕๕"

      พันธกิจ  

          1. จัดบริการสุขภาพที่มีคุณภาพแบบองค์รวม

          2.  สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนสู่ชุมชนสุขภาวะแบบพอเพียง

          3. พัฒนาระบบบริหารจัดการสุขภาพให้เป็นเลิศบนพื้นฐานธรรมาภิบาลองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง

       

ข้อมูลทั่วไป

 


 

   1. ประวัติความเป็นมา

เนื่องจากอำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีพื้นที่กว่า 646 ตร.กม.มีประชากรกว่า  130,341  คน มีเขตติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และการคมนาคมสะดวก แม้ว่าจะมีสถานีอนามัยมีกระจายอยู่ทุกตำบลแล้วก็ตาม  แต่การเจ็บป่วยบางโรคบางอาการจำเป็นต้องได้พบแพทย์ หรือได้การบริการที่ต้องใช้ศักยภาพสูงขึ้น ประชาชนส่วนหนึ่งจึงหลั่งไหลไปใช้บริการที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้เกิดการแออัดและต้องรอนาน ไม่สะดวกทั้งประชาชนและบุคลากรผู้ให้บริการ

ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2500  เริ่มมีศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลนาดี มาจนถึงปี พ.ศ. 2525  เปลี่ยนเป็นสถานีอนามัยบ้านปอแดง  และเริ่มก่อตั้งอาคารใหม่เมื่อปี  พ.ศ.  254และได้ย้ายที่ทำการมาจนถึงปัจจุบัน  สถานีอนามัยบ้านปอแดง  ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลนาดี                                 อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์

จนกระทั่งถึงปัจจุบัน  ปี 2551 นำโดย ฯพณฯ  นายกรัฐมนตรี  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่  29 ธันวาคม  2551  ว่า ในส่วนของนโยบายด้านสาธารณสุข  รัฐบาลมุ่งเน้นในการปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น  โดยการยกระดับสถานีอนามัยให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งเป็นการพัฒนา  รพ.สต.  เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการปฏิรูประบบสาธารณสุขหรือระบบสุขภาพ  เป็นยุทธศาสตร์ที่เปลี่ยนจากเน้นงานรักษาพยาบาลแบบตั้งรับ  มาเป็นการดำเนินงานเชิงรุกโดยเน้นการส่งเสริมให้มีการสร้างสุขภาพของบุคคล  ครอบครัวและชุมชน  โดยถือหลักที่ว่า  สุขภาพดี  สังคมดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องร่วมสร้างซึ่งจะมีผลทำให้ระบบบริการสุขภาพในภาพรวมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างเห็นเป็นรูปธรรม

จากการแถลงนโยบายดังกล่าว  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา  แก้วภารดัย  ได้นำนโยบายด้านสาธารณสุขมาสู่การปฏิบัติ      โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้ง

กลไกทางราชการรองรับนโยบาย รพ.สต.และได้มีคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 408/2552  ลงวันที่  18 มีนาคม  2552 แต่งตั้งคณะทำงานติดตามและสนับสนุนนโยบายรพ.สต.ดังนี้

ข้อ 3.3.1 สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ โดยเร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคีการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ รณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัย รวมทั้งส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิต และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนให้เพื่อกลับมาทำงานในท้องถิ่น

ข้อ 3.3.3 ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยลงทุนพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาครัฐ ทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับสถานีอนามัยเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และพัฒนาเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอทั่วถึง มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ และครอบคลุมได้ถึงการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

ข้อ 3.3.4 ลงทุนผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ควบคู่กับการสร้างขวัญ กำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้มีรายได้จากเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทย์ มีการกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพให้ทันสมัย มีมาตรฐานสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า(โครงการขยายเครือข่ายและส่งเสริมศักยภาพหน่วยบริการสุขภาพใกล้บ้านให้ทันสมัย ได้มาตรฐาน : Mega Project ปี 2553-2556)

จากนโยบายดังกล่าวนายแพทย์พิสิทธิ์   เอื้อวงศ์กูล  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์  ได้สนองนโยบายรัฐบาล  จึงได้ประกาศยกฐานะสถานีอนามัยทุกแห่งในจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  และสถานีอนามัยบ้านปอแดง  จึงได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง ตั้งแต่ ตุลาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา

 

    2. ข้อมูลสภาพแวดล้อมทั่วไป

  แผนที่แสดงพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการปฐมภูมิ  รพ.สต.บ้านปอแดง 

       

  

1.1 ที่ตั้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง  ตำบลนาดี  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเขตการปกครองของอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ  15  กิโลเมตร มีเขตติดต่อพื้นที่ใกล้เคียงดังต่อไปนี้

       ทิศเหนือ                   ติดเขต    ตำบลดอนสมบูรณ์  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์

        ทิศใต้                     ติดเขต    ตำบลหัวงัว  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์

        ทิศตะวันออก            ติดเขต    ตำบลหลุบ  อำเภอเมือง  จังหวัดกาฬสินธุ์

        ทิศตะวันตก              ติดเขต    ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์

 

  1.2 พื้นที่

          พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง  อำเภอยางตลาด มีพื้นที่โดยประมาณ   ไร่

 

 1.3 สภาพภูมิประเทศ

          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง  อำเภอยางตลาด มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9  หมู่บ้าน มี 3 ฤดูกาล คือ

          1.3.1 ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม อากาศร้อนจัดมาก

          1.3.2 ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกชุกเป็นบางช่วงและไม่ตรงตาม  ฤดูกาลเกษตรกรมักไม่ได้ทำการเกษตรตรงตามฤดูกาล

          1.3.3 ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมาก แห้งแล้ง

1.4 จำนวนหมู่บ้าน หมู่บ้าน  ดังนี้

          1.4.1 รายชื่อหมู่บ้านรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปอแดง  ตำบลนาดี มี 9 หมู่บ้าน มีนายจงกวนสิน  ภูอองทอง เป็นกำนันประจำตำบล ดังต่อไปนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น